วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายหรือเพิ่มระยะทางการสื่อสารของเครือข่ายในการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
ตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ในมาตรฐานการส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายใช้ 10BaseT ซึ่งมีข้อกำหนดของมาตรฐาน
การ เชื่อมต่อระบบได้ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร ถ้าความยาวของระบบมากกว่า 100 เมตร ต้องมีเครื่องทวนสัญญาณในการขยายสัญญาณ เพื่อให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน


เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)

2. บริดจ์ (Bridge)
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN เข้าด้วยกัน โดยออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น LAN จำนวน 2 เครือข่าย ที่มีโปรโตคอลเหมือนกันหรือต่างกัน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้ โดยประสิทธิภาพในทางรวมลดลงไม่มาก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องอยู่ในเซกเมนด์เดียวกัน จะไม่มีการส่งผ่านต่างเซกเมนด์ (Segment)

ฮับ (Hub)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลได้หลายช่องทางในระบบ เครือข่าย โดยการขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ใกล้ขึ้น และใช้กับระบบเครือข่ายแบบ Star ในปัจจุบัน Hub มีความเร็วในการสื่อสารแบบ 10 และ 100 Mbps ลักษณะการทำงานของ Hub จะแบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ที่ใช้งานตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 10 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 10/5 คือ 2 Mbps


ฮับ (Hub)

4. สวิตช์ (Switch)สวิตซ์ หรือ อีเธอร์เนตสวิตช์ (Ethernet Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบ เครือข่าย คล้ายกับ Hub ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็ว การทำงานของ Switch ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือน Hub โดยแต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องก็จะสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 100 Mbps


สวิตช์ (Switch)

5. เราท์เตอร์ (Router)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างชนิดกัน หรือใช้โปรโตคอลต่างกัน เข้าด้วยกัน คล้าย ๆ กับ Bridge แต่ลักษณะการทำงานของ Router นั้นจะซับซ้อนกว่า เพราะนอกจากจะเชื่อมต่อแล้วยังเก็บสภาวะของเครือข่ายแต่ละส่วน (Segment) ด้วย และสามารถทำการกรอง (Filter) หรือเลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งสภาวะของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันนี้ Router จะจัดเก็บในรูปของตารางที่เรียกว่า Routing Table ซึ่งตาราง Routing Table นี้จะมีประโยชน์ในด้านของความเร็วในการหาเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่าง ระบบเครือข่ายโดยเฉพาะกับระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมาก ๆ เช่น ระบบ MAN, WAN หรือ Internet เป็นต้น

เราท์เตอร์ (Router)
6. เกตเวย์ (Gateway)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านในการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างชนิด กัน เช่น ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway นั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่ก็ได้
7. โมเด็ม (Modem)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล (Digital) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) และจากสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายสามารถเข้าใจได้ หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจาก อุปกรณ์สื่อสารให้เป็นสัญญาณ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งความสามารถของโมเด็มสามารถวัดได้จากความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวน 1 บิตต่อ 1 วินาที (บิตต่อวินาที) หรือ bps (bit per second) ปัจจุบัน Modem มีสองประเภท คือ โมเด็มที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง (Internal Modem) และโมเด็มที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง (External Modem) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม


โมเด็ม (Modem)

ระบบ เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร โดยการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (LAN) หรืออาจจะเป็นเครือขายต่างท้องถิ่น หรือเครือข่ายแวน (WAN) และเป็นเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เป็นตัวเชื่อมโยงการสื่อสาร การสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตที่สำคัญๆ ได้แก่ การสื่อสารระบบเว็บ (Web) การโอนย้ายไฟล์ (FTP) และระบบฐานข้อมูล (Database) อาจกล่าวได้ว่าอินทราเน็ต คืออินเตอร์เน็ตขนาดเล็ก เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารบนอินทราเน็ตจะเป็นแบบเดียวกับที่ใช้บน อินเตอร์เน็ต รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินทราเน็ตก็มีการใช้แอพพลิเคชัน
เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกประการ